​ทำความรู้จักชาและวัฒนธรรมการดื่มชา


Nutkrittaya Boonyananth


จุดเริ่มต้นของชา

ชามีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศจีน จุดกําเนิดของชานั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีตํานานหนึ่งที่เป็นที่นิยมเล่าขานกันเกี่ยวกับต้นกําเนิดของชา เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช เสินหนง ฮ่องเต้ กําลังเสวยนํ้าร้อนถ้วยหนึ่งอยู่ และใบไม้จากต้นไม้แถวนั้นก็ได้ร่วงลงในถ้วย หลังจากฮ่องเต้ได้เสวยนํ้านั้น ก็ทรงประหลาดใจว่านํ้านั้นกลับมีรสชาติดี และทรงรู้สึกสดชื่นอีกด้วย

“ชา” นั้น หากว่ากันตามจริงแล้ว เป็นผลผลิตจากพืชที่เป็นต้นชา หรือที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis หลายครั้ง คนมักเข้าใจผิดว่า สมุนไพรแห้งต่างๆ อาจเป็นชาด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เจียวกู่หลาน เป็นต้น แต่เจียวกู่หลานนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่ “ชา” อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ เนื่องจากเป็นใบจากต้นเจียวกู่หลาน ไม่ใช่ต้นชา

ชาที่ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองชิมกันนั้น เป็นชาดําที่นักดื่มชาคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ เจิ้งซานเสี่ยวจง หรือ แลปแซงซูชอง (Lapsang Souchong) นั่นเอง

การเดินทางของชาสู่อังกฤษ และวัฒนธรรมการดื่ม

ในช่วงราชวงศ์ถัง ชาได้กลายมาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศจีน ชาได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศอังกฤษในประมาณช่วงปีคริสต์ศักราช 1645 และในภายหลังชาได้กลายมาเป็นเครื่องดื่มที่ชาวอังกฤษชื่นชอบ พร้อมมีวัฒนธรรมการดื่มชาแบบอังกฤษ คือการใส่นมลงในชาพร้อมทานคู่ของหวานอย่างสโคน ยังมีการถกเถียงกันว่าการใส่นมลงในชามีจุดเริ่มต้นมาจากไหน แต่กว่าชาวอังกฤษจะเริ่มใส่นมลงในชานั้น ก็เป็นช่วงเวลาประมาณปี 1720 และเป็นช่วงเวลาประมาณนี้เช่นกันที่ชาดําเริ่มเป็นที่ชื่นชอบของชาวอังกฤษมากกว่าชาเขียวที่นําเข้ามาในตอนแรก จึงอาจเป็นสาเหตุหลักที่การใส่นมลงในชานั้นเริ่มเป้นที่นิยมในช่วงนี้ เพื่อลดความขมของชาลง

วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษนั้น จะดื่มชาดําใส่นม โดยใส่นมลงภายหลังจากเทชาลงไปแล้ว พร้อมดื่มคู่กับขนมสโคน วิธีการทานสโคนกับชาแบบชาวอังกฤษแท้ๆ นั้น จะต้องผ่าสโคนเป็นแนวขวาง และทา Clotted Cream ลงไปก่อน พร้อมตามด้วยแยม ผู้เข้าร่วมงาน The Tea Journey ในครั้งนี้ ได้ลองดื่มชาดําคู่กับสโคน พร้อม Homemade Clotted Cream พร้อมแยมส้มและแยมลูกฟิก

วัฒนธรรมการดื่มชาแบบฝรั่งเศส

ชาได้เข้ามาในประเทศฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 เช่นกัน และได้กลายมาเป็น “เครื่องดื่มแฟชั่น” เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีราคาสูง และมักจะดื่มโดยชนชั้นสูงเท่านั้น

ในช่วงปี 1980 ตอนปลาย บริษัท Mariage Frères ซึ่งเป็นผู้นําเข้าชาชื่อดัง ได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “ชาแบบฝรั่งเศส” ซึ่งเป็นการดื่มชาอย่างพิถีพิถัน ชาแบบฝรั่งเศสนั้นเป็นชาที่มีกลิ่นหอมละมุนกลมกล่อม และไม่ว่าจะมีการ Blend หรือผสมชากับกลิ่นใด (เช่น ส้ม วานิลลา) ชาแบบฝรั่งเศสมักจะมีเพียงกลิ่มหอมอ่อนๆ โดยไม่ลืมให้ชาเป็นพระเอกหลักของกลิ่น และมีความกลมกล่อม ต่างจากชา Blend ของอังกฤษ ที่กลิ่นอื่นๆ ที่ใช้ มักจะเป็นกลิ่นหลักและชัดเจน

ชาวฝรั่งเศสนิยมดื่มชาคู่กับชอคโกแลต เนื่องจากเป็นขนมที่มีวิธีการทําอย่างพิถีพิถัน เข้ากับวัฒนธรรมการดื่มชาของฝรั่งเศสนั่นเอง

Salons de Thé หรือห้องดื่มชา กลายเป็นที่นิยมมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นการตกแต่งห้องดื่มชาอย่างหรูหรา จนถึงวันนี้ Salons de Thé ยังคนเป็นที่นิยมในฝรั่งเศสอยู่ โดยเฉพาะที่ปารีส

ผู้เข้าร่วมงาน The Tea Journey ในวันนี้ ได้ลองชิมชา The A L’Opera ของ Mariage Frères ซึ่งเป็นชาเขียวที่ผสมกับรสชาติของผลไม้แดงหลากหลายชนิดและวานิลลา ให้กลิ่นหอมแบบผลไม้ ผสานกับกลิ่นวานิลลาอย่างลงตัว พร้อมทานคู่กับช็อคโกแลต Bonbon จาก Paradai

การเดินทางของชาสู่อเมริกา

ในช่วงปี 1750 ชาเริ่มเป็นที่รู้จักในอเมริกาและเป็นที่นิยมในหมู่คนรวย เนื่องจากมีราคาแพง เพราะการขนส่งชาไปยังอเมริกานั้นเป็นการเดินทางจากจีนไปสู่นิวยอร์ค ผ่านลอนดอน โดยบริษัท East India Company ทําให้ชากลายเป็นสินค้าที่ชาวอังกฤษเรียกเก็บภาษีแพงมาก จนนําไปสู่เหตุการณ์ Boston Tea Party งานเลี้ยงนํ้าชาที่บอสตัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ชาวอาณานิคมของอังกฤษในเมืองบอสตันได้ทําการต่อต้านภาษีใบชาที่มาจากความไม่เป็นธรรม ชาวอาณานิคมจึงได้ทําการประท้วงรัฐบาลอังกฤษขึ้นและนําไปสู่เหตุการณ์การโยนใบชาจากเรืออังกฤษที่เทียบท่าอยู่ที่บอสตันทิ้งลงทะเลไปทั้งหมด เหตุการณ์นี้เป็นชนวนหนึ่งที่นําไปสู่การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอเมริกา จนอเมริกาประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776

ระหว่างนั้นชาวอเมริกันก็หันไปดื่มกาแฟแทนชา และถือว่าการดื่มชานั้นเป็น “การสนับสนุน” รัฐบาลอังกฤษ กว่าชาวอเมริกันจะกลับมานิยมดื่มชาอีกครั้งก็เป็นช่วงปลายปี 1800s หลังการปฏิวัติอเมริกา และในช่วงปี 1908 Tea Bags หรือชาถุง ก็ได้กําเนิดขึ้นในอเมริกาแบบไม่ได้ตั้งใจ หลังจากที่ผู้นําเข้าชาคนหนึ่งได้ส่งตัวอย่างของชาให้กับลูกค้า ไปในถุงที่ทําจากผ้าไหม ซึ่งผู้ที่ได้รับนั้นเข้าใจผิดและคิดว่าให้ดื่มไปแบบนี้ได้เลย

บริษัทชาลิปตันเป็นบริษัทแรกที่ผลิตชาถุงพร้อมพิมพ์วิธีการดื่ม การดื่มชาถุงนั้นปฏิวัติการดื่มชาในอเมริกา เนื่องจากทําให้ชาดื่มง่าย ดื่มไวขึ้น และไม่ต้องมีการพิถีพิถันในการชงชาอีกต่อไป ในปัจจุบันใช้กระดาษไฟเบอร์ในการทําชาถุงแทนที่ผ้าไหมและผ้าก๊อซในอดีต

วัฒนธรรมการดื่มชาแบบชาวอเมริกันนั้น นิยมทานคู่บิสกิตหรือคุกกี้ที่มีรสชาติหวาน เพื่อให้เข้ากับการทานคู่กับชาถุงที่มีรสค่อนข้างขม

ผู้เข้าร่วมงาน The Tea Journey ได้ลองชิมชาแบบอเมริกัน คือชาถุงลิปตัน ทานคู่กับขนมบิสกิตอบกรอบ Lotus Biscoff

สนทนา Tea Talk
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของชา

นอกจากการได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรื่องราวและการเดินทางเกี่ยวกับชาแล้วนั้น ผู้เข้าร่วมงานยังได้ร่วมซักถามและพูดคุยวัฒนธรรมการดื่มชาในประเทศไทย และความแตกต่างของความนิยมชาในแต่ละพื้นที่

และในงานครั้งที่สอง ผู้เข้าร่วมงานยังได้ร่วมทํา Cold Brew Iced Tea แบบ BIY (Brew It Yourself) ชารสผลไม้สดเย็นในแบบของตัวเองอีกด้วย ซึ่งทาง Episteme ได้จัดผลไม้หอมอร่อยอย่างขนุน ส้ม เคปกูสเบอร์รี่ และสับปะรด ให้ผู้ร่วมงานได้ดีไซน์และเลือกรสตามใจชอบ พร้อมนํากลับบ้านเป็นของที่ระลึก และได้ชิม Infused Iced Tea ที่เชฟไปป์ออกแบบให้เป็นพิเศษ

เรียกได้ว่าจบกิจกรรมนี้ไป ผู้เข้าร่วมงานได้รับทั้งความรู้ ความสนุกสนาน และได้ทําความรู้จักเครื่องดื่มชาที่ตัวเองหลงรักมากขึ้นด้วย

กิจกรรมของ Episteme ยังไม่หมดแค่นี้แน่นอน ใครที่พลาดกิจกรรมนี้ไป รอติดตาม Episteme ไว้ให้ดีๆ เราจะมีกิจกรรมที่จะพาคุณไปสัมผัสรสชาติและเรื่องราวใหม่ๆของชาอีกเร็วๆ นี้แน่นอน!


* เนื้อหาในบทความนี้เก็บความจากบรรยายในงาน The Tea Journey เมื่อวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคมและอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่ง Episteme ได้จัดกิจกรรมร่วมกับ Books & Belongings และ The Unforgotten B&B (ครั้งที่ 1 และ 2 ตามลําดับ) ให้ผู้ที่สนใจเรื่องราวของชา มาทําความรู้จักกับต้นกําเนิดและการเดินทางของชา ผ่านการ paring ชาและขนม พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวของชาในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเวิร์กช็อปครั้งแรกของ Episteme Event ในตอน The Tea Journey ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม 2564 ภายในงาน (ครั้งแรก) เรามีวิทยากรรับเชิญ คุณอนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียนและ Food Activist ผู้สนใจด้านอาหารอย่างลึกซึ้ง ชวนคุณพูดคุยถึงศิลปะวัฒนธรรมของการจิบชา พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องราวมุมมองและความรู้ของตลอดการชิม พร้อมเชฟไปป์ ฆนัท นาคถนอมทรัพย์ ที่รับหน้าที่พาทุกคนไปสัมผัสกับศิลปะการชิมชาของแต่ละประเทศ พร้อม paring กับขนมที่จับคู่มาเสริมอรรถรสให้แต่ละชาถ้วยนั้นพิเศษยิ่งขึ้น


อ้างอิง

Helen Saberi,Tea A Global History,(London: Reaktions Books, 2010).


You May Also Like
Read More

Marmalade

ถ้าพูดถึงคำว่า ‘มาร์มาเลด’ ขึ้นมาในตอนนี้ คนส่วนใหญ่ก็มักจะนึกภาพแยมส้ม หรือแยมเปลือกส้มขึ้นมา โดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่าคำว่า ‘มาร์มาเลด’ ที่แปลว่า ‘แยมส้ม’ นั้นกลายเป็นภาพจำและนิยามของคนปัจจุบันไปแล้ว หากแต่ว่าแยมส้มนั้นเรียกได้ว่าเป็น ‘ร่างแปลง’ ของมาร์มาเลด ที่ถูกแปลงร่างเปลี่ยนความหมายไปจนมีความหมายที่แตกต่างจนสิ้นเค้าเดิม
Read More
Read More

Shio Ramen

ชินโด ราเมง เป็นร้านที่ตั้งอยู่ระหว่างอาคารพาณิชย์สีเหลืองอ่อนในตรอกเล็กๆ ตรงข้ามกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ หากคุณโชคดีก็จะมีคนหนึ่งหรือสองคน ยืนต่อแถวข้างหน้าคุณ แต่หากโชคร้ายแถวนั้นอาจยาวเสียจนคุณไม่มั่นใจว่าท้องจะสามารถอดทนรอให้ลิ้นของคุณรับรสอันลึกล้ำได้หรือเปล่า เพราะว่ามันอาจส่งเสียงโวยวายเสียงดังเสียจนคนข้างๆ คุณต้องเหลียวหลังมามอง
Read More
Jellied Eels
Read More

Jellied Eels

รสชาติของอังกฤษคืออะไร? หากไม่นับฟิชแอนด์ชิปส์ (Fish and Chips) พายเนื้อ (Meat Pie) ยอร์กเชอร์พุดดิ้ง (Yorkshire Pudding) ที่ยังได้รับความนิยมอย่างเหนียวแน่นถึงปัจจุบัน ยังมีอาหารชนิดหนึ่งที่เคยเป็นตัวแทนของรสชาติแบบอังกฤษ ที่กำลังจะเลือนหายไปในปัจจุบัน อาหารที่ว่านั้นคือ เยลลีปลาไหล (Jellied Eels)
Read More
Read More

Culinary Triangle

“การใช้ไฟปรุงอาหารคือนวัตกรรมที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นมนุษย์เช่นทุกวันนี้” โคลด เลวี-สโตรส (Claude Lévi-Strauss) เป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาคนสำคัญที่อายุยืนที่สุดในโลก แม้ชื่อของเขามักจะถูกนำไปจำสลับกับกางเกงยีนส์ยี่ห้อดัง แต่สำหรับโลกวิชาการแล้วนั้น เขาคือแบรนด์ทางความคิดที่แข็งแรงและคงอยู่ข้ามศตวรรษ
Read More
Read More

Culinary Revolution

การกำเนิดขึ้นของแท่นพิมพ์ ดินปืน และเข็มทิศในช่วงศตวรรษที่ 14-15 ได้นำพาความเปลี่ยนหลายอย่างมาสู่โลกของอาหาร เริ่มจากเครื่องเทศ และวัตถุดิบจากแดนไกลไม่ว่าจะเป็นอัฟริกา อินเดีย ละตินอเมริกาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร ถัดจากนั้นวิทยาการด้านการพิมพ์ทำให้ตำรับตำราอาหารเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องการปรุงและการทำไปทั่วทั้งยุโรป และที่สุดตำแหน่งพ่อครัวที่ไม่เคยมีบทบาทอะไร กลับเริ่มโดดเด่นขึ้นในฐานะของศิลปินผู้สร้างสรรค์จานอาหาร หนึ่งในนั้นได้แก่ มาเอสโตร มาร์ติโนแห่งโคโม (Maestro Martino of Como) พ่อครัวที่เคยทำงานในราชสำนักแห่งมิลาน ผู้เขียน Libro de arte coquinara (Book of the Art of Cooking)
Read More
Read More

Maillard Reaction

“การทำอาหารคือวิทยาศาสตร์” นี่เป็นแนวคิดหนึ่งที่แพร่หลายในแวดวงอาหารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทว่าการค้นพบแนวคิดทฤษฎีสำคัญโดยมากนั้นมักไม่ค่อยถูกยอมรับในทันที อย่างผลงานของ Nicolaus Copernicus ที่เสนอว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลก็ต้องใช้เวลาเนิ่นนานนับเป็นร้อยปี กว่าจะเป็นที่ยอมรับในหมู่นักดาราศาสตร์และฟิสิกส์ จึงไม่แปลกอะไรที่นักเคมีและนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส Camille-Louis Maillard จากเมืองน็องซี (Nancy) ผู้ค้นพบปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคน้ำตาลกับสารประกอบโปรตีนขณะได้รับความร้อน และได้เสนอความคิดนี้ต่อหน้าผู้ทรงคุณวุฒิในปี 1912 ก็มิวายถูกมองเป็นเพียงรายงานวิจัยธรรมดาๆ ชิ้นหนึ่งเท่านั้น
Read More