Ch'a Ching

ตำราว่าด้วยการดื่มชาเล่มแรกของโลก

ค่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว
มิตรสหายแวะเวียนมา
เรามิได้ร่ำสุราหากเป็นชา
กาต้มน้ำขู่ฟ่อ
ถ่านคุโชน
เบื้องนอกแสงดวงจันทร์ส่องกระจ่าง
แค่พระจันทร์ธรรมดา
แต่ดูดอกท้อนั่นสิ!

ตู้เสี่ยวชาน

ชานั้นเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับสอง เป็นรองมาจากน้ำเปล่า การดื่มชามีหลากหลาย ตั้งแต่เสิร์ฟในถ้วยใบเล็กแบบจีน ถูกตีด้วยแปรงชงชาไม้ไผ่ (Chasen) จนเป็นฟอง เติมนม น้ำตาล ผสมกระวาน หรือใบสะระแหน่ ใส่น้ำแข็งหรือผลไม้สด ฯลฯ ในแต่ละที่ดูเหมือนจะมีวิธีการดื่มชาที่พัฒนาขึ้นในแบบของตนเอง จนมาล่าสุดก็คือชานมไข่มุก (Boba Tea) ซึ่งได้รับความแพร่หลายไปทั่วโลก

ก่อนที่ชาจะกลายเป็นเครื่องดื่มที่เรารู้จักกันเช่นทุกวันนี้ ในมณฑลเสฉวน (Sichuan) ในช่วง 100 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มมีการนำเอาใบชามาใส่ในน้ำร้อน และเรียกกันว่า kia  หรือ k’u t’u และเริ่มปรากฏคำนี้ในพจนานุกรมจีน Erh-Ya (爾雅)ที่ได้รับการจัดทำขึ้น 350 ปีแรกของคริสตกาล โดยปราชญ์ผู้มีนามว่า Guo Pu (郭璞)

ในตอนนั้น วิธีดื่มชาตามที่ได้รับการบันทึกไว้ใน Guangya (廣雅) ที่จัดทำขึ้นสมัยราชวงศ์เว่ย (220-266) ยังคงผสมหัวหอม ขิง ผิวส้ม และแม้แต่เกลือลงไปเพื่อเพิ่มเติมรสชาติและกลิ่น แน่นอนว่า การดื่มชาในเวลานั้นยังคงผูกพันกับความเป็นยามากกว่าจะเป็นเครื่องดื่มเพื่อความผ่อนคลาย โดยสรรพคุณที่เชื่อกัน ณ เวลานั้นก็คือแก้อาการท้องเดิน อาการเซื่องซึมเฉื่อยชา และแม้แต่ปัญหาทางด้านการมองเห็น

ในช่วงศตวรรษที่ 5 ชาในแบบอัดแท่ง หรือก้อนชา  (brick tea) จึงถูกส่งออกและกลายเป็นสินค้ายอดนิยมของบรรดาพ่อค้าชาวตุรกีและมองโกล

การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวใบชาได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับที่ชาได้กลายเป็นเครื่องดื่มในแวดวลงขุนนาง นักปราชญ์ ราชบัณฑิต และนักบวช ด้วยสรรพคุณที่ทำให้กระปรี้กระเปร่าสามารถอ่าน เขียน หรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวันได้โดยไม่รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง จนล่วงมาสู่ศตวรรษที่ 8 ชาที่ถูกส่งออกไปในหลายที่ทั่วโลก ตั้งแต่หมู่เกาะญี่ปุ่นจนไปถึงพม่า

วัฒนธรรมการดื่มชาถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในตำรา Ch’a Ching (The Classic of Tea)  ของ Lu Yu (陆羽) ปราชญ์ที่วัยเด็กได้รับชุบเลี้ยงดูแลโดยพระสงฆ์จนทำให้เขาได้เรียนรู้การเขียน อ่าน และวัฒนธรรมการดื่มชา

เขามีโอกาสเดินทางไปที่หูเมิ่น (Houmen) เพื่อร่ำเรียนวิธีปลูกและบ่มชาจากอาจารย์ Zou Fuzi  และตลอดระยะเวลาหกปีที่เขาอยู่ที่นั่นเขาก็ได้เขียน Ch’a Ching หนังสือที่ว่าศาสตร์และศิลป์แห่งการดื่มชา ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับชา พื้นที่เพาะปลูก ไปจนถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม และธรรมเนียมวิธีต่างๆ ซึ่งหลายอย่างได้กลายมาเป็นแม่แบบของวัฒนธรรมการดื่มชาในปัจจุบัน

สำหรับ Lu Yuแล้วการดื่มชานั้นเป็นมากกว่ากิจกรรมทางวัฒนธรรม หรือการพักผ่อนหย่อนใจธรรมดาๆ ด้วยเพราะเขาเชื่อว่า ชา คือหนทางแห่งความเข้าใจในสัจธรรม อันช่วยให้เราสามารถดำรงอยู่อย่างสอดประสานกับธรรมชาติ ดังที่เขาได้รจนาเอาไว้ว่า

แก้วแรกประโลมริมฝีปากและลำคออันแห้งผาก
แก้วที่สองทลายกำแพงแห่งความโดดเดี่ยวเศร้าสร้อย
แก้วที่สามเสาะหาธารน้ำเหือดแห้งในจิตวิญญาณเพื่อค้นพบเรื่องราวที่บอกเล่ายาวกว่าห้าพันม้วนคัมภีร์
แก้วที่สี่ความเจ็บปวดจากความอยุติธรรมระเหิดหายจากรูขุมขน
แก้วที่ห้าชำระล้างเลือดเนื้อและกระดูก
แก้วที่หกสัมผัสกับความอมตะ
แก้วที่เจ็ดหยิบยื่นความสุขล้นเหลือทน
สายลมกระพือพัดให้ข้า
ลอยล่องไปยังผาสวรรค์เผิงไหล


อ้างอิง

Lu Yü, The Classic of Tea: Origins & Rituals, (New York: Ecco Press, 1995).

Helen Saberi, Tea A Global History, (London: Reaktions Books, 2010).


You May Also Like
Read More

Marmalade

ถ้าพูดถึงคำว่า ‘มาร์มาเลด’ ขึ้นมาในตอนนี้ คนส่วนใหญ่ก็มักจะนึกภาพแยมส้ม หรือแยมเปลือกส้มขึ้นมา โดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่าคำว่า ‘มาร์มาเลด’ ที่แปลว่า ‘แยมส้ม’ นั้นกลายเป็นภาพจำและนิยามของคนปัจจุบันไปแล้ว หากแต่ว่าแยมส้มนั้นเรียกได้ว่าเป็น ‘ร่างแปลง’ ของมาร์มาเลด ที่ถูกแปลงร่างเปลี่ยนความหมายไปจนมีความหมายที่แตกต่างจนสิ้นเค้าเดิม
Read More
Read More

Shio Ramen

ชินโด ราเมง เป็นร้านที่ตั้งอยู่ระหว่างอาคารพาณิชย์สีเหลืองอ่อนในตรอกเล็กๆ ตรงข้ามกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ หากคุณโชคดีก็จะมีคนหนึ่งหรือสองคน ยืนต่อแถวข้างหน้าคุณ แต่หากโชคร้ายแถวนั้นอาจยาวเสียจนคุณไม่มั่นใจว่าท้องจะสามารถอดทนรอให้ลิ้นของคุณรับรสอันลึกล้ำได้หรือเปล่า เพราะว่ามันอาจส่งเสียงโวยวายเสียงดังเสียจนคนข้างๆ คุณต้องเหลียวหลังมามอง
Read More
Read More

Lesser Beasts

แม้ว่ามนุษย์ปัจจุบันจะใช้เนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารกันโดยทั่วไป แต่ความหลากหลายของเนื้อสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เพื่อใช้บริโภคนั้นก็หาได้มีมากมายอะไร หากต้องขานชื่อออกมา รายชื่อของเนื้อสัตว์ที่เราทั้งหลายเลือกใช้เป็นวัตถุดิบก็มักจะวนเวียนอยู่ที่วัว หมู ไก่ และปลา แต่สำหรับกรณีของหมู หมูมีความพิเศษเฉพาะเจาะจงที่น่าสนใจ ทำไมหมูในฐานะของวัตถุดิบสำหรับชนกลุ่มหนึ่งจึงเป็นอาหารที่ขาดเสียมิได้ แต่กับชนอีกกลุ่มหนึ่ง หมูกลับเป็นอาหารที่ไม่เพียงแต่ไม่ควรบริโภค กระทั้งตัวของมันเองก็เป็นดังสิ่งมีชีวิตที่ไม่ควรแตะต้องด้วยซ้ำไป
Read More
Read More

Gastrophysics

เคยมีใครสงสัยไหมว่าทำไมเสียงของมันฝรั่งทอด Pringle ที่เราเคี้ยวและรู้สึกได้ถึง ความกรอบของมันจึงทำให้เราหวนหาและกินมันได้แบบไม่วางมือ เคยมีใครสงสัยไหม ว่าทำไมเราจึงจำมื้ออาหารบางมื้อได้แต่หลงลืมหลายมื้ออาหารไป และเคยมีใครสงสัย ไหมว่าทำไมเวลาอยู่บนเครื่องบินเครื่องดื่มอย่างน้ำมะเขือเทศหรือบลัดดี้แมรี่ (ซึ่งมีส่วน ผสมของน้ำมะเขือเทศ) จึงเป็นเครื่องดื่มที่เราเรียกหาบ่อยครั้งกว่ายามที่เราอยู่บนพื้น ดิน สิ่งเรานี้มีคำตอบ มันเป็นคำตอบที่แฝงอยู่ในวิทยาศาสตร์ด้านการอาหารโดยเฉพาะใน สาขาของวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของเราที่เรียกว่า Gastrophysics
Read More
Read More

Pig Perfect

ความพยายามสืบหา ‘อาหารที่สมบูรณ์แบบ’ ภายใต้วัตถุดิบที่ทำจากหมูได้นำพาคามินสกี้เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสและสเปน ก่อนจะนำเขาย้อนกลับมาเมืองบ้านเกิดที่เมมฟิส (Memphis) หลุยส์วิลล์ (Louisville) และเดอมอยน์ส (Des Moines) ในสหรัฐอเมริกา จากคำถามแรกเริ่ม “เพราะเหตุใดสหรัฐฯจึงไม่สามารถผลิตแฮมรสเลิศเช่นนั้นได้?” ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการได้ลิ้มรสขาหมูแฮมในสเปนที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Jamón ibérico
Read More
Jellied Eels
Read More

Jellied Eels

รสชาติของอังกฤษคืออะไร? หากไม่นับฟิชแอนด์ชิปส์ (Fish and Chips) พายเนื้อ (Meat Pie) ยอร์กเชอร์พุดดิ้ง (Yorkshire Pudding) ที่ยังได้รับความนิยมอย่างเหนียวแน่นถึงปัจจุบัน ยังมีอาหารชนิดหนึ่งที่เคยเป็นตัวแทนของรสชาติแบบอังกฤษ ที่กำลังจะเลือนหายไปในปัจจุบัน อาหารที่ว่านั้นคือ เยลลีปลาไหล (Jellied Eels)
Read More