Read More

Music at the Meals #01

ความสัมพันธ์ระหว่างการดนตรี (ร้อง/รำ/เล่น) กับมื้ออาหารนั้นมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มื้ออาหารที่ทานร่วมกับผู้อื่น (communal meal ซึ่งผู้เขียนขอแปลหยาบ ๆ ว่า “มื้อสังคม”) มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ชี้ถึงพิธีกรรม อาหาร เครื่องดนตรี ในโลกยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age) มีรูปวาดและรูปสลักต่าง ๆ ที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของการดนตรีในงานเลี้ยงในอารยธรรมตะวันตก ไล่ตั้งแต่เมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีกโบราณ มาจนถึงยุโรปยุคใหม่ ส่วนอีกฟากหนึ่ง ภาพวาดจากอาณาจักรเปอร์เซีย และบันทึกต่าง ๆ ของจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ เองก็มีการกล่าวถึงส่วนร่วมของดนตรีในมื้ออาหาร หรืออย่างในมหากาพย์บุร่ำบุราณของกรีกอย่าง Odyssey ของ โฮเมอร์ (Homer) ก็มีบันทึกถึงการที่ดนตรีเป็นสิ่งคู่งานเลี้ยง
Read More
Read More

The Kitchen of Sound #02

ทุกวันนี้ การนำเครื่องครัวมาเล่นดนตรีนั้นเราเห็นกันเป็นเรื่องปรกติ ตามคลาสเรียนดนตรีเด็กหรือตามคลิปออนไลน์ต่าง ๆ เราเห็นการนำเครื่องครัว (รวมไปถึงอุปกรณ์งานบ้านงานเรือนอื่น ๆ) มาสร้างจังหวะดั่งการตีเกราะเคาะไม้แบบโบราณ ซึ่งเมื่อพูดถึงการตีเกราะเคาะไม้ ก็เป็นไปได้สูงทีเดียวว่าตั้งแต่อดีตกาลนานโพ้นเท่าอายุกำเนิดดนตรีโดยฝีมือมนุษย์ การนำ อุปกรณ์ทำอาหารในยุคบรรพกาลมาเคาะ ๆ ตี ๆ ให้เกิดเสียงเป็นดนตรีคงต้องมีอยู่เป็นแน่
Read More
Read More

The Kitchen of Sound #01

บนเส้นประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของตำราอาหาร (cookbook) นั้น เมื่อเข้าสู่สมัยใหม่ มีการผลิตแท่นพิมพ์ มีพัฒนาการหน่วยชั่งตวงวัด และมีตำราอาหารที่เขียนด้วยลักษณะความเรียง (prose) เป็นขนบหลัก แต่การบันทึกสูตรอาหารด้วยกลอนก็ยังสามารถพบได้เห็นอยู่ ซึ่งยิ่งไปกว่านั้น หนังสือบางเล่มได้เขียนกลอนสูตรอาหารเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อการ “ร้อง” กับทำนองเพลงด้วยซ้ำ!
Read More