Read More

Chef’s Salad, Please

ภาพยนตร์เรื่อง Chunking Express ของหว่อง การ์-ไว (Wong Kar-Wai) ได้ฉายให้เห็นถึงอิทธิพลที่วัฒนธรรมอเมริกันมีต่อตัวละคร ตั้งแต่บาร์ไปจนถึงร้านอาหารจานด่วน Midnight Express ที่กลายเป็นฉากสำคัญในเรื่อง โดยหนึ่งในเมนูที่ถูกกล่าวถึงอยู่หลายกรรมหลายวาระด้วยกันก็คือ เชฟสลัด (Chef Salad/Chef’s Salad) หรือ ชูฉีซาลา (厨师沙拉) ในภาษากวางตุ้ง เราแทบไม่ได้เห็นภาพเชฟสลัดชัดๆ ซึ่งคงทำให้ใครหลายคนอยากทราบว่าหน้าตาของสลัดที่ว่าเป็นอย่างไร บทความนี้จึงขอทำหน้าที่นำพาทุกคนย้อนกลับไปทำความรู้จักกับอาหารดังกล่าวนับจากจุดกำเนิด
Read More
Read More

Solo Dining

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ผู้เขียนแทบไม่เคยกินอาหารคนเดียว ไม่ว่าจะในมื้อเช้า กลางวัน หรือเย็นที่เป็นเวลาสงวนสำหรับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และมิตรสหาย จวบจนไม่กี่ปีมานี้ที่ภาระหน้าที่และวิถีชีวิตที่แปลงเปลี่ยนไปทำให้ต้องเริ่มรับประทานอาหารคนเดียวบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การออกไปนั่งตามร้านรวงต่างๆ รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นความเคยชินของตนเองไปแล้ว และจากนั้นผู้เขียนจึงได้เริ่มสังเกตว่า คนที่นั่งรับประทานอาหารคนเดียวมีมากขึ้น และอาจมากกว่าที่มาเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเสียด้วยซ้ำไป
Read More
Read More

Christmas Dishes in the Medieval Time

เทศกาลคริสต์มาสกลายหนึ่งในห้วงเวลาแห่งการบริโภคและจับจ่าย กล่าวกันว่าในประเทศอังกฤษช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ต้องมีโครงการกู้ยืมสำหรับพนักงานและคนงานเหมืองเพื่อนำไปใช้สำหรับเทศกาลนี้ เพราะเป็นห้วงเวลาเดียวของปีที่คนยากจนจะได้มีโอกาสกินดื่มและเฉลิมฉลองได้อย่างคนมีฐานะ รูปแบบของการเฉลิมฉลอง การกินดื่ม และร้องเพลงอย่างสนุกสนานนั้นถือได้ว่ามีต้นแบบมาจากยุคกลาง (Medieval Age) หรือตั้งแต่ที่ชาวโรมันเข้าเชื่อคริสต์ศาสนา เมื่อราว 500 ปีแรกของคริสตกาล
Read More
Read More

Locke and His Secret Obsession

จอห์น ลอค (John Locke) นักปรัชญาฝ่ายประจักษ์นิยม (Empiricism) ที่เชื่อว่าความรู้ของมนุษย์นั้นมาจากประสบการณ์ จิตคนเราแรกเกิดเป็นดั่งกระดานชนวนว่างเปล่า (tabula rasa) บทบาทสำคัญของลอคคือการเผยแพร่แนวคิดเรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคล (Private Property) และประชาธิปไตยสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่มักจะจดจำเขาในฐานะนักคิดผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 หากมีเพียงน้อยคนจะทราบว่าลอคเป็นหนึ่งในผู้หลงใหลในการดื่มชาในระดับคลั่งไคล้หาใครเปรียบเหมือน
Read More
Read More

Culinary Revolution

การกำเนิดขึ้นของแท่นพิมพ์ ดินปืน และเข็มทิศในช่วงศตวรรษที่ 14-15 ได้นำพาความเปลี่ยนหลายอย่างมาสู่โลกของอาหาร เริ่มจากเครื่องเทศ และวัตถุดิบจากแดนไกลไม่ว่าจะเป็นอัฟริกา อินเดีย ละตินอเมริกาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร ถัดจากนั้นวิทยาการด้านการพิมพ์ทำให้ตำรับตำราอาหารเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องการปรุงและการทำไปทั่วทั้งยุโรป และที่สุดตำแหน่งพ่อครัวที่ไม่เคยมีบทบาทอะไร กลับเริ่มโดดเด่นขึ้นในฐานะของศิลปินผู้สร้างสรรค์จานอาหาร หนึ่งในนั้นได้แก่ มาเอสโตร มาร์ติโนแห่งโคโม (Maestro Martino of Como) พ่อครัวที่เคยทำงานในราชสำนักแห่งมิลาน ผู้เขียน Libro de arte coquinara (Book of the Art of Cooking)
Read More
Read More

Chopsticks

“ตะเกียบ” ที่ไม่ใช่แค่อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเท่านั้น แต่ตะเกียบยังมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าอย่างหนึ่งของจีน และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ “ตะเกียบ” เป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่สามารถสืบย้อนไปไกลได้จนถึงยุคหินใหม่ (Neolithic) หรือช่วง 6600-5500 ก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ทำตะเกียบ ยังมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับฐานะและความต้องการของผู้ใช้งานอีกด้วย
Read More
Read More

Culinary Triangle

“การใช้ไฟปรุงอาหารคือนวัตกรรมที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นมนุษย์เช่นทุกวันนี้” โคลด เลวี-สโตรส (Claude Lévi-Strauss) เป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาคนสำคัญที่อายุยืนที่สุดในโลก แม้ชื่อของเขามักจะถูกนำไปจำสลับกับกางเกงยีนส์ยี่ห้อดัง แต่สำหรับโลกวิชาการแล้วนั้น เขาคือแบรนด์ทางความคิดที่แข็งแรงและคงอยู่ข้ามศตวรรษ
Read More