Read More

The Ten (Food) Commandments

เจย์ ไรเนอร์ (Jay Rayner) เป็นคอลัมนิสต์ด้านอาหารที่มีชื่อเสียงของหนังสือพิมพ์ The Guardian หนังสือพิมพ์ชั้นนำของอังกฤษ นอกจากงานเขียนรายสัปดาห์แล้ว ไรเนอร์ยังมีทั้งนวนิยายและงานเขียนเชิงสารคดีด้านอาหารอีกหลายเล่มอาทิเช่น My Last Supper, My Dining Hell หรือ The Oyster House Seige งานเขียนของเขาแม้จะข้องเกี่ยวกับอาหารหากแต่มันมักถูกเขียนขึ้นเพื่อเยาะเย้ยและถากถางบางสิ่งที่นอกเหนือจากนั้นอีกทั้งยังแสดงอารมณ์ขันแบบคนอังกฤษอยู่เสมอ ในหนังสือเล่มบางเล่มนี้อันได้แก่ The Ten (Food) Commandments เขาได้หยิบยกเอาบัญญัติสิบประการที่ศาสดาโมเสสได้รับจากพระเจ้าเมื่อหลายพันปีก่อน แต่แน่นอนเมื่อมันเป็นงานเขียนเชิงเสียดสีประชดประชัน เนื้อหาภายในหนังสือจึงไม่เกี่ยวข้องใดเลยกับบัญญัติต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นการอย่าออกนามของพระเจ้าโดยไม่จำเป็นหรืออย่ากระทำการใส่ร้ายผู้อื่น บัญญัติทั้งสิบข้อของไรเนอร์ ในหนังสือเล่มนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับอาหารทั้งสิ้นเริ่มแต่
Read More
Read More

Memoir of Eating in China

ในโลกยุคใหม่ ดูจะมีหลากหลายวิธีสำหรับการเข้าใจวัฒนธรรมอาหาร เราอาจใช้วิธีการศึกษาผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ภาพยนตร์ หรือการตระเวณลิ้มรสอาหารต่างวัฒนธรรม แต่สำหรับฟุสเชีย ดันลอป (Fuschia Dunlop) แล้ว เธอเลือกวิธีการที่ตรงและลัดสั้นกว่านั้นคือมุ่งหน้าไปเรียนทำอาหารที่ว่านั้นเสียเลย แรกเริ่ม ฟุสเชีย ดันลอปเดินทางไปประเทศจีนในปี 1992 ในฐานะของผู้สื่อข่าวพิเศษของสถานี BBC ของอังกฤษ เธอเลือกพำนักอยู่ที่เมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวนอันเป็นพื้นที่ห่างไกล ด้วยมองว่าการอยู่ห่างจากความเจริญน่าจะทำให้เธอได้พบเห็นอะไรที่น่าสนใจกว่าสายตานักท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งนับว่าเธอคิดถูกเพราะแม้ว่าเธอจะลงเรียนภาษาจีนและวิชาด้านสังคมศาสตร์ในตอนแรก แต่แล้วบางสิ่งก็ดึงเธอออกจากห้องเรียนมากขึ้นทุกทีและในทุกวัน สิ่งนั้นคืออาหารนั่นเอง
Read More
Read More

Pig Perfect

ความพยายามสืบหา ‘อาหารที่สมบูรณ์แบบ’ ภายใต้วัตถุดิบที่ทำจากหมูได้นำพาคามินสกี้เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศสและสเปน ก่อนจะนำเขาย้อนกลับมาเมืองบ้านเกิดที่เมมฟิส (Memphis) หลุยส์วิลล์ (Louisville) และเดอมอยน์ส (Des Moines) ในสหรัฐอเมริกา จากคำถามแรกเริ่ม “เพราะเหตุใดสหรัฐฯจึงไม่สามารถผลิตแฮมรสเลิศเช่นนั้นได้?” ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการได้ลิ้มรสขาหมูแฮมในสเปนที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Jamón ibérico
Read More
Read More

Dangerous Tastes

เครื่องเทศ (Spices) คือสัญลักษณ์ของอาหาร ของการปรุงอาหาร ของส่วนหนึ่งในอาหาร การเดินเข้าไปในครัวของใครก็ตามนอกจากวัตถุดิบหลักอย่างข้าว ไข่ หรือเนื้อสัตว์ สิ่งที่คุณจะได้พบในนั้นจะต้องมีเครื่องเทศปะปนอยู่ ในครัวของชาวจีน คุณได้พบข่า โป๊ยกั้ก เก๋ากี้ ไปจนถึงลูกผักชี เข้าไปในครัวของชาวอินเดีย คุณพบ กระวาน กานพลู เม็ดยี่หร่า เข้าไปในครัวของชาวตะวันตก คุณได้พบพริกไทย ออริกาโน ซัฟฟรอน แม้กระทั่งในพื้นที่เตรียมอาหารของสำนักงาน ที่คุณอาจคิดว่าไม่น่าจะมีเครื่องปรุงอะไรเลย คุณจะยังพบกับน้ำตาล ซึ่งครั้งหนึ่งนั้นมันคือ ‘เครื่องเทศ’
Read More
Read More

Gastrophysics

เคยมีใครสงสัยไหมว่าทำไมเสียงของมันฝรั่งทอด Pringle ที่เราเคี้ยวและรู้สึกได้ถึง ความกรอบของมันจึงทำให้เราหวนหาและกินมันได้แบบไม่วางมือ เคยมีใครสงสัยไหม ว่าทำไมเราจึงจำมื้ออาหารบางมื้อได้แต่หลงลืมหลายมื้ออาหารไป และเคยมีใครสงสัย ไหมว่าทำไมเวลาอยู่บนเครื่องบินเครื่องดื่มอย่างน้ำมะเขือเทศหรือบลัดดี้แมรี่ (ซึ่งมีส่วน ผสมของน้ำมะเขือเทศ) จึงเป็นเครื่องดื่มที่เราเรียกหาบ่อยครั้งกว่ายามที่เราอยู่บนพื้น ดิน สิ่งเรานี้มีคำตอบ มันเป็นคำตอบที่แฝงอยู่ในวิทยาศาสตร์ด้านการอาหารโดยเฉพาะใน สาขาของวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของเราที่เรียกว่า Gastrophysics
Read More
Read More

Lesser Beasts

แม้ว่ามนุษย์ปัจจุบันจะใช้เนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารกันโดยทั่วไป แต่ความหลากหลายของเนื้อสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เพื่อใช้บริโภคนั้นก็หาได้มีมากมายอะไร หากต้องขานชื่อออกมา รายชื่อของเนื้อสัตว์ที่เราทั้งหลายเลือกใช้เป็นวัตถุดิบก็มักจะวนเวียนอยู่ที่วัว หมู ไก่ และปลา แต่สำหรับกรณีของหมู หมูมีความพิเศษเฉพาะเจาะจงที่น่าสนใจ ทำไมหมูในฐานะของวัตถุดิบสำหรับชนกลุ่มหนึ่งจึงเป็นอาหารที่ขาดเสียมิได้ แต่กับชนอีกกลุ่มหนึ่ง หมูกลับเป็นอาหารที่ไม่เพียงแต่ไม่ควรบริโภค กระทั้งตัวของมันเองก็เป็นดังสิ่งมีชีวิตที่ไม่ควรแตะต้องด้วยซ้ำไป
Read More
Read More

Hungry

ในปี 2014 เจฟ กอร์ดิเนียร์ (Jeff Gordinier) คอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร เอสไควร์ (Esquire) และหนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รับการติดต่อจากชายผู้หนึ่ง สิ่งที่เจฟต้องทำก็แค่เก็บข้าวของและหนีตามชายคนนั้นไป ราวกับสาวน้อยที่ระหกระเหินไปในโลกกว้างไปกับคนที่เธอรัก ในช่วงแรก เจฟคิดว่ามันคงกินเวลาไม่เกินหนึ่งฤดูร้อน หากแต่เขาคิดผิด การติดตามครั้งนี้กินเวลาราวสี่ปี ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เขาต้องนอนหลับไปบนชายหาดในเม็กซิโก ตื่นบนเรือที่เหน็บหนาวของคนเรือชาวเดนมาร์ค เป็นประจักษ์พยานในสงครามมาซิโดเนีย ไปจนถึงการนั่งกอดเข่าท่ามกลางไอแดดอุ่นของนครซิดนี่ย์ เรื่องเล่าเหลือเชื่อเช่นนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้หากชายที่ติดต่อเขาในวันนั้นไม่มีได้มีชื่อว่า เรเน่ เรดเซพี (Rene Redzepi)
Read More
Read More

The Meaning of Rice

ในปี 2007 นักเขียนสารคดีชาวอังกฤษนาม ไมเคิล บู๊ธ (Michael Booth) ได้ออกเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับครอบครัวเพื่อค้นหาว่าอะไรคือแก่นสารสำคัญของอาหารญี่ปุ่น ทั้งวิธีปรุง วิธีกิน เขาสนทนากับเชฟ นักมวยปล้ำซูโม่ พิธีกรรายการอาหาร หลังจากการเดินทาง เขาเขียนหนังสือที่บันทึกการเดินทางครั้งนั้นภายใต้ชื่อ Sushi and Beyond หลังออกวางจำหน่าย ผลงานเล่มนั้นได้กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่สนใจในอาหารญี่ปุ่น ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่นได้รับความชื่นชมจากคนภายในประเทศ จนถึงกับมีสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางของเขาในรูปแบบการ์ตูน
Read More